วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยอยุธยา


« รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา »

รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ 3 ระยะตามลักษณะการปกครอง คือ การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น อยุธยาตอนกลาง อยุธยาตอนปลาย
การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น มีลักษณะดังนี้
การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน



ส่วนที่ 1) การปกครองส่วนกลาง การปกครองในเขตราชธานี และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่ กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง(ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี) กรมคลัง(ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)

ส่วนที่ 2) การปกครองส่วนหัวเมือง แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

1. เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานี 4 ทิศ เช่น ลพบุรี นครนายก พระประแดง สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง

2. หัวเมืองชั้นใน อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตะนาวศรี ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง

3.หัวเมืองชั้นนอก หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง

4. เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น



การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้ ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง ช่วงที่ 1 เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยก ทหารและ พลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือน ทหาร มี สมุหกลาโหมดูแล ส่วนพลเรือนมี สมุหนายก ดูแล สมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราช สมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง
สมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี
การปฏิรูปส่วนหัวเมือง แยกเป็น 3 ส่วน

+++ หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน ทรงขุนนางไปครองเรียก ผู้รั้ง +++ หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า เมืองพระยามหานคร จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี +++ เมืองประเทศราช คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม ช่วงที่ 2 ตรงกับสมัยพระเพทราชา ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม และสมุหนายก ดูแลทั้งทหารและพลเรือน โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้ สมุหกลาโหมดูแล

การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย ( ในช่วง 2231-2310) มีลักษณะดังนี้ พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลา-โหม ส่วนสมุหนายก ยังคงเหมือนเดิม การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง
เข้าใจชัดแล้วใช่ไหมว่า ทำไมอยุธยาต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองค่อนข้างบ่อยเหตุผลก็เพื่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นหลักในการปกครองนั่นเอง

สรุป การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ตลอดจนสิ้นอยุธยา




วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ

1. เป็นวันประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะ ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
2. เป็นวันตรัสรู้
หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสร็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญษ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ( ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนม์มายุได้ 35 พรรษา หลังจากออกผนวช ได้ 6 ปี )
3. เป็นวันปรินิพพาน
หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสร็จดับขันธปรินิพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกัน นับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก
+++ กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชาคือ คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธุปเทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่างๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
+++ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดกิจกรรมในวันมาฆบูชา
พุทธศาสนิกชนจะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรมต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป












วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยสุโขทัย

ยุคสมัยกรุงสุโขทัย
ในปี พ.ศ.๑๗๙๒-พ.ศ.๑๙๘๑ ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัยสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน





พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เองโดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ


๑.การปกครองส่วนกลาง ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง ๔ ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(๑)ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(๒)ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(๓) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(๔) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)



๒.การปกครองหัวเมือง หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี ๒ ลักษณะ คือ
(๑)หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร
(๒)หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีปัญหา


การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

ประวัติศาสตร์ไทย เริ่มขึ้นตั้งแต่การอพยพย้ายเข้ามาของกลุ่มคนพูดภาษา ไท-ลาวจากถิ่นบรรพบุรุษซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนเดิมเข้ามายังดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานอยู่ก่อนแล้ว โดยมีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า เป็นต้นมา คือ ราว 10,000 ปีที่แล้ว แต่สำหรับรัฐของคนไทยแล้ว ตามตำนานโยนกได้บันทึกว่า การก่อตั้งอาณาจักรของคนไทยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1400[1]

การล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 นักประวัติศาสตร์จำนวนมากถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการนับประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งตรงกับสมัยรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรสุโขทัยขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่เริ่มอ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์
พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรของชนชาติไทยขึ้นทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา ต่อมา ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ทรงทำสงครามกับอาณาจักรล้านนาในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชอยู่หลายปี และพระองค์ได้ทรงไปประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก อันเป็นจุดสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีบางส่วนใช้มาจนถึงปัจจุบัน

การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ตรงกับรัชสมัยของ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น จึงได้เริ่มการขยายดินแดนมายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระเจ้าบุเรงนอง การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูในที่สุด แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงประกาศอิสรภาพในเวลาไม่นานนัก

จากนั้น อยุธยากลายมาเป็นรัฐที่ทรงอำนาจมากที่สุดในภูมิภาค โดยมีอำนาจขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน สมุหนายก จึงทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา ความสัมพันธ์กับต่างชาติก็เสื่อมโทรมลงนับตั้งแต่นั้น อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310 ในที่สุด พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของคนไทยเป็นเวลานาน 15 ปี จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เซอร์จอห์น เบาริ่ง ราชทูตอังกฤษ ได้เข้ามาทำสนธิสัญญาเบาว์ริง อันเป็นสนธิสัญญาซึ่งไม่เป็นธรรมฉบับแรกที่ทำกับต่างชาติ ตามด้วยการทำสนธิสัญญาอีกหลายฉบับ ต่อมา การคุกคามของฝรั่งเศสและอังกฤษทำให้สยามเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากแต่อาณาจักรสยามยังคงสามารถธำรงตนเป็นรัฐซึ่งไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกได้ กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ นำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลายเพื่อให้ชาติมีอธิปไตยอย่างแท้จริง แต่กว่าจะเสร็จก็ล่วงถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล[2]

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร แต่เนื่องจากประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรให้การยอมรับในขบวนการเสรีไทย ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายในการต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค และส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ต่อมา ประเทศไทยประสบกับปัญหาการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในประเทศ แต่ก็ยังไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของประเทศมากนัก หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนแรกเป็นผลมาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2516 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งในช่วงเวลานั้น ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น

ในปัจจุบัน ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศ นับตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ. 2549 เกิดรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการ ก่อนที่ประเทศไทยจะกลับมาเป็นประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง แต่ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศไทยจะยังคงบั่นทอนความเจริญก้าวหน้าของประเทศต่อไป





วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Karo ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก



สิบโทเคโรโระและผองเพื่อน "ขบวนการอ๊บอ๊บ"